Info Interventions

: ชุดของแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่อ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และผ่านการรับรองด้วยการทดลองทางดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างความพร้อมต่อภัยจากโลกออนไลน์

Accuracy Prompt

ปรับโฟกัสความสนใจของผู้ใช้ไปที่ความถูกต้องแม่นยำ
Accuracy Prompt จะขอให้ผู้ใช้พิจารณาความถูกต้องแม่นยำของเนื้อหาขนาดสั้นที่เข้าใจง่าย และชักนำให้คำนึงถึงความพยายามที่จะแชร์ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำในเวลาที่สำคัญ

สมมติฐาน

การเตือนให้บุคคลนึกถึงความแม่นยำในจังหวะที่พวกเขากำลังมีส่วนร่วมกับข้อมูลเท็จสามารถส่งเสริมให้ผู้ใช้ทำตามเป้าหมายความถูกต้องแม่นยำที่ตนมี

วิธีการทำงาน

  • 1

    1. บุคคลเลื่อนผ่านฟีดโซเชียลและพบเนื้อหาที่มีแนวโน้มว่าเป็นข้อมูลเท็จ

  • 2

    2. จะมีการทริกเกอร์ Accuracy Prompt ขึ้นมาให้แสดงบนเนื้อหา

  • 3

    3. คำอธิบายเหตุผลที่สั้นกระชับว่าทำไมถึงมีการแจ้งเตือนจะแสดงขึ้นมา และผู้ใช้จะหันมาสนใจความถูกต้องแม่นยำของเนื้อหาด้วยเคล็ดลับในการรู้เท่าทันข้อมูล

  • 4

    4. บุคคลจะได้รับการแจ้งเพื่อให้คำนึงถึงสิ่งนี้มากขึ้น และอาจคิดทบทวนอีกรอบเมื่อพบเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันในฟีด

ผลการสืบค้น

  • 50%
    ผู้ที่ได้รับเคล็ดลับด้านความถูกต้องแม่นยำแสดงพฤติกรรมการตัดสินใจแชร์ข้อมูลที่แม่นยำได้ดีขึ้น 50% เมื่อเทียบกับผู้ใช้ที่ไม่ได้รับเคล็ดลับ (แหล่งที่มา: Jigsaw)
  • 11%
    วิดีโอโฆษณาตอนต้นบน YouTube เพิ่มความมั่นใจขึ้นสูงสุด 11% ในช่วง 3 สัปดาห์หลังการเผยแพร่ (แหล่งที่มา: Jigsaw)

ตัวอย่าง

เราร่วมมือกับ MIT และ University of Regina ในการทดลองหลายครั้ง เพื่อทดสอบว่าการแจ้งเตือนความแม่นยำ (Accuracy Prompt) ทำงานได้กับวัฒนธรรมที่หลากหลาย ลดการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เพิ่มการเผยแพร่ข้อมูลทางออนไลน์ที่ถูกต้อง และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ในการจำแนกคุณภาพของข้อมูล

มีการทดลองโดยจัดทำแบบสำรวจออนไลน์ใน 16 ประเทศ ซึ่งขอให้ผู้เข้าร่วมมากกว่า 30,000 รายให้คะแนนความตั้งใจในการแชร์พาดหัวข่าวที่เป็นจริงและเท็จ
ต้นแบบในช่วงแรกของการแจ้งเตือนความแม่นยำ (Accuracy Prompt) ในการขอให้ผู้ใช้ทบทวนความถูกต้องของหัวข้อข่าวก่อนทำการท่องเว็บต่อไป

ร่วมกับ

University of Regina และ Hill levene

Redirect Method

ขัดขวางการเผยแพร่ลัทธินิยมความรุนแรงออนไลน์
Redirect Method คือโปรแกรมที่สร้างมาเพื่อเข้าหาผู้ที่เสี่ยงถูกทาบทามเข้าร่วมลัทธิหัวรุนแรง โครงการนำร่องใช้โฆษณาในการเปลี่ยนเส้นทางผู้ใช้ที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับลัทธิหัวรุนแรงให้ไปพบกับเนื้อหาที่ผ่านการขัดเกลาแล้วที่หักล้างข้อความการเชิญชวนเข้าร่วมกลุ่มของ ISIS

สมมติฐาน

ในระหว่างกระบวนการเผยแพร่ลัทธินิยมความรุนแรง ยังคงมีโอกาสที่จะทำให้ผู้ที่กำลังหาข้อมูลสนับสนุนอุดมการณ์หัวรุนแรงหันมาคล้อยตามข้อมูลที่หักล้างแนวคิดเหล่านั้นได้

วิธีการทำงาน

  • 1

    1. บุคคลใช้คีย์เวิร์ดแสดงความสนใจโฆษณาชวนเชื่อของลัทธิกลุ่มหัวรุนแรงในการค้นหาออนไลน์จนสำเร็จ

  • 2

    2. Redirect Method จะเริ่ม และจับคีย์เวิร์ด เพื่อเริ่มต้นการแทรกแซง

  • 3

    3. โฆษณาจะแสดงขึ้น พร้อมด้วยข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อที่สนใจ

  • 4

    4. เมื่อคลิกโฆษณา จะมีการเปลี่ยนเส้นทางผู้ใช้ไปยังเนื้อหาที่ลบล้างเนื้อหาเชิญชวนเข้าร่วมลัทธินิยมความรุนแรงที่เป็นเท็จ

ผลการสืบค้น

  • 320,000
    ผู้เข้าร่วมได้ผ่านโครงการนำร่องมาแล้ว 8 สัปดาห์ (แหล่งที่มา: Jigsaw & Moonshot)
  • 500,000
    นาทีวิดีโอที่หักล้างเนื้อหาที่แสดงให้ผู้ใช้ (แหล่งที่มา: Jigsaw & Moonshot)

ตัวอย่าง

Jigsaw และ Moonshot พัฒนาระเบียบวิธีโอเพนซอร์ส Redirect Method จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เลิกสนับสนุน ISIS ในเรื่องของบทบาทของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อกระบวนการเผยแพร่ลัทธินิยมความรุนแรง โดยข้อมูลเชิงลึกที่ได้ ถูกนำมาออกแบบโปรแกรมนำร่องโดยใช้ AdWords เพื่อเข้าถึงผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อของลัทธินิยมความรุนแรง และนำเสนอมุมมองตรงกันข้ามผ่านการใช้เนื้อหา
เนื้อหาถูกอัปโหลดโดยผู้ใช้ทั่วทุกมุมโลกเพื่อต่อต้านลัทธินิยมความรุนแรงออนไลน์ โดยมีผู้ชำนาญการเป็นผู้คัดเลือกเนื้อหาดังกล่าว

ระเบียบวิธีของเราเล็งเห็นว่าเนื้อหาที่แม้จะไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อหักล้างข้อมูลโดยเฉพาะ ก็ยังสามารถลดทอนความรุนแรงของเนื้อหาที่คุกคาม เมื่อมีการดูแลจัดการ จัดระเบียบ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการโฟกัสไปที่กลุ่มเป้าหมายของ ISIS ที่คล้อยไปตามสารที่ได้รับ นับตั้งแต่ปี 2016 Moonshot ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Facebook และอีกหลายบริษัทในการแสดงโฆษณาต่อผู้ที่แสดงความสนใจในภัยคุกคามออนไลน์ต่างๆ ได้แก่ แนวคิดเชิดชูคนขาวแบบสุดโต่ง แนวคิดรุนแรงที่ต่อต้านเพศหญิง และทฤษฎีสมคบคิดต่างๆ
ขั้นตอนของแคมเปญโดยแสดง Moonshot ที่ใช้ Redirect Method เพื่อเปลี่ยนเส้นทางผู้ใช้ไปยังเนื้อหาที่ปลอดภัยกว่า โดยในกรณีนี้ คือการแนะนำบริการที่ช่วยให้ถอนตัวจากลัทธิเชิดชูคนขาวสุดโต่ง

ร่วมกับ

moonshot

Authorship Feedback

ส่งเสริมบทสนทนาที่ดีขึ้น
Authorship Feedback ใช้ประโยชน์จาก Perspective API ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจจับข้อความที่ใช้ภาษาหยาบคาย ในการให้ฟีดแบ็กแบบเรียลไทม์กลับไปยังผู้แสดงความคิดเห็นที่กำลังเขียนโพสต์ โดยเน้นให้เห็นช่วงเวลาที่ความคิดเห็นของพวกเขาอาจดูไม่เหมาะสม

สมมติฐาน

การให้เวลาผู้ใช้หยุดชั่วคราว ทบทวน และพิจารณาแนวทางอื่นๆ ในการเขียนความคิดเห็น สามารถช่วยส่งเสริมบทสนทนาที่ดีขึ้นบนโลกออนไลน์

วิธีการทำงาน

  • 1

    1. บุคคลเขียนข้อความที่ถูกระบุว่า "หยาบคาย" ซึ่งเป็นข้อความที่ไม่สุภาพ ลบหลู่ หรือไร้เหตุผล และมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้อื่นออกจากบทสนทนา

  • 2

    2. Perspective API จับความคิดเห็นที่ "หยาบคาย" โดยใช้โมเดลแมชชีนเลิร์นนิงที่ระบุภาษาที่สบประมาท

  • 3

    3. ข้อความ Authorship Feedback จะแสดงขึ้น เพื่อแจ้งให้ทราบว่ามีการระบุว่าความคิดเห็นมีความเสี่ยง/ไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของชุมชนของผู้เผยแพร่

  • 4

    4. เราแนะนำให้ผู้ใช้ปรับแก้ข้อความก่อนเผยแพร่ความคิดเห็น

ผลการสืบค้น

  • 34%
    จากผู้ใช้ที่ได้รับความคิดเห็นโดย Perspective API เลือกแก้ไขความคิดเห็น (แหล่งที่มา: Jigsaw)

ตัวอย่าง

เราร่วมมือกับหลากหลายเว็บไซต์ และพัฒนาฟีเจอร์ที่ผสานเข้ากับระบบเผยแพร่ความคิดเห็นโดยตรง เมื่อผู้ใช้พิมพ์ข้อความแสดงความคิดเห็น ข้อความจะถูกตรวจสอบผ่าน Perspective API ก่อนที่จะมีการเผยแพร่ออกไป

หาก Perspective API วัดได้ว่าความคิดเห็นมีการใช้ข้อความหยาบคายที่สูงกว่าเกณฑ์ซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า ผู้ใช้คนดังกล่าวจะได้รับการเตือน และจะได้รับโอกาสในการปรับแก้ความคิดเห็นเพื่อลองอีกครั้ง และจะมีการวิเคราะห์ความคิดเห็นภายหลังเพื่อประเมินอัตราการแก้ไขและผลลัพธ์โดยรวม
ช้อความ Authorship Feedback ในตัวอักษรสีแดง ข้างใต้ความคิดเห็นหยาบคายบนเว็บไซต์ที่ OpenWeb รองรับ

ร่วมกับ

OpenWeb
Coral

สร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด

เพิ่มการต่อต้านการชักจูง
การสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดคึอเทคนิคในการป้องกันความพยายามชักจูงผู้คนทางออนไลน์ การเตือนบุคคลล่วงหน้าและเตรียมความพร้อมให้พวกเขาโดยการจำแนกและลบล้างการโต้แย้งเท็จจะช่วยให้พวกเขาสามารถรับมือและต้านทานการถูกชักจูงได้ในอนาคต

สมมติฐาน

ข้อความขัดจังหวะช่วยให้บุคคลจำแนกกลยุทธ์และเนื้อหาเชิงชักจูงได้ (เช่น การอ้างว่า "วัคซีนไม่ได้ผลิตขึ้นตามธรรมชาติ" หรือผู้ลี้ภัยแย่งงาน)

วิธีการทำงาน

  • 1

    1. วิดีโอสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดจะแสดงให้กับกลุ่มผู้ใช้ในรูปแบบโฆษณาผ่านฟีดโซเชียลมีเดีย

  • 2

    2. ข้อความวิดีโอสั้นจะแจ้งให้บุคคลทราบถึงความเป็นไปได้ว่ามีการพยายามชักจูงพวกเขาทางออนไลน์

  • 3

    3. โดยผู้ใช้จะได้เห็นตัวอย่างเทคนิคหรือเนื้อหาการชักจูง จากนั้นจะได้รับข้อโต้แย้งที่หักล้างคำกล่าวอ้างนั้น

  • 4

    4. การวิเคราะห์ว่าผู้ชมวิดีโอสามารถจดจำเทคนิคต่างๆ ได้ดีเพียงใดในแบบสำรวจสั้นๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ทำให้เราสามารถประเมินแนวโน้มของผู้ชมที่จะต่อต้านการคล้อยตามเนื้อหาชักจูงในอนาคตได้

ผลการสืบค้น

  • 73%
    จากจำนวนผู้ที่ดูวิดีโอสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดมีแนวโน้มในการระบุข้อมูลเท็จออนไลน์ได้สม่ำเสมอกว่า (แหล่งที่มา: Science Advances)
  • 5%
    วิดีโอการสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดที่เป็นโฆษณา YouTube เพิ่มความสามารถในการจำแนกเทคนิคการชักจูงได้มากขึ้น 5% (แหล่งที่มา: Science Advances)

แนวทางและตัวอย่าง

เราทดสอบการสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดผ่านข้อความวิดีโอสั้นๆ เพื่อเสริมความต้านทานต่อกลยุทธ์ทางวาทศิลป์ที่พบบ่อย และเนื้อหาที่นำมาใช้เผยแพร่ข้อมูลเท็จ ผ่านการทดสอบทั้งในห้องทดลองและการทดลองกับสาธารณะ ร่วมกับพาร์ทเนอร์ด้านวิชาการที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยอเมริกัน
BBC Media Action, University of Cambridge และ Jigsaw พัฒนาคู่มือ "วิธีเสริมภูมิคุ้มกันทางความคิด" เพื่อเป็นแนวทางและหลักการเบื้องต้นสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการเขียนข้อความเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดของตนเอง ดาวน์โหลด PDF

ร่วมกับ

University of Cambridge
BBC Media Action
Demagog, NASK และ Jigsaw สร้างชุดวิดีโอเพื่อหักล้างการนำเสนอแนวคิดต่อต้านผู้อพยพ ที่เจาะจงชาวยูเครนที่ใช้ชีวิตในยุโรปกลางและตะวันออก ดูวิดีโอทั้งหมดบน YouTube

ร่วมกับ

เราสร้างวิดีโอ 5 รายการที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดต่อเทคนิคการชักจูงบางอย่างที่มักพบได้ทางออนไลน์ผ่านการร่วมงานกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และมหาวิทยาลัยบริสตอล ดูวิดีโอทั้งหมดบน YouTube

ร่วมกับ

University of Cambridge
เราได้ทำการสกัดกั้นและปรับแก้เนื้อหาที่ชักนำให้มีความเชื่อผิดๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน ผ่านความร่วมมือกับนักวิชาการจากโรงเรียนสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, มหาวิทยาลัยอเมริกัน และบุคลากรการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม ดูวิดีโอทั้งหมดบน YouTube

ร่วมกับ

การแบ่งเป็น 2 ขั้วและลัทธิหัวรุนแรง
แล็บงานวิจัยและทดลอง
Hit Pause โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อทั่วโลกของ YouTube จะช่วยสอนทักษะการตรวจจับข้อมูลเท็จให้กับผู้ชมในตลาดรอบโลก ผลงานครีเอทีฟชุดแรกๆ สร้างขึ้นตามแนวทางของ Jigsaw ในการสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดต่อเทคนิคการชักจูงที่พบได้บ่อย เช่น ภาษาที่เข้าถึงอารมณ์ ดูวิดีโอทั้งหมดบน YouTube

สร้างโดย

YouTube

ร่วมกับ

Namle

Jigsaw คือหน่วยงานหนึ่งใน Google ที่ตรวจสอบข้อมูลของภัยคุกคามต่อสาธารณะ และสร้างเทคโนโลยีที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับโซลูชันที่รองรับการปรับขนาด